เอเชียใต้ ของ คลื่นความร้อนในเอเชีย พ.ศ. 2566

บังกลาเทศ

ในประเทศบังกลาเทศ ที่เมืองธากา อุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 15 เมษายน ทำให้ผิวถนนละลาย[1] การใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นยังทำให้ไฟดับในหลายพื้นที่[2][14] และมีรายงานความสูญเสียจากความร้อนครั้งนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ[16] ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อการผลิตข้าวและผลไม้ โดยคาดการณ์ว่า ปริมาณข้าวจะลดลงถึงร้อยละ 40[16]

ปากีสถาน

ในประเทศปากีสถาน เมื่อวันที่ 23 เมษายน เมือง 9 แห่งมีอุณหภูมิที่ 40 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่านั้น[17]

ศรีลังกา

เมื่อวันที่ 17 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศศรีลังกาเตือนถึงอุณหภูมิที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจนถึง "ระดับที่ต้องระมัดระวัง"[18] และนับตั้งแต่วันที่ 27 เมษายนเป็นต้นมา อุณหภูมิในประเทศนี้อยู่ที่ 39–40 องศาเซลเซียส[19]

อินเดีย

ในประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 18 เมษายนนั้น เมือง 6 แห่งทางภาคเหนือและภาคตะวันออกมีอุณหภูมิสูงเกิน 44 องศาเซลเซียส ส่วนเมืองนิวเดลีมีอุณหภูมิสูงถึง 40.4 องศาเซลเซียส[1]

ความร้อนครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 คนเมื่อวันที่ 16 เมษายนในงานมอบรางวัลที่เมืองนวีมุมไบ[20][21] และมีประชาชน 50–60 คนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล[21]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คลื่นความร้อนในเอเชีย พ.ศ. 2566 //www.worldcat.org/issn/0190-8286 //www.worldcat.org/issn/0261-3077 //www.worldcat.org/issn/0971-751X https://apnews.com/article/thailand-bangkok-extrem... https://www.axios.com/2023/04/18/deadly-heat-wave-... https://www.cnn.com/2023/04/18/asia/india-heatstro... https://www.cnn.com/2023/04/19/asia/asia-heat-reco... https://www.cnnphilippines.com/news/2023/4/24/heat... https://efe.com/en/latest-news/2023-04-24/devastat... https://www.ft.com/content/b1b07514-f1c0-4f1b-88ce...